วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเปรียบเทียบหลักสูตร44 กับ หลักสูตร51

การกำหนดวิสัยทัศน์...
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544

หลักสูตรไม่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตร สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ แต่ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ในเอกสาร แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

ให้สถานศึกษากำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามบริบทของสถานศึกษา

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
กำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตร สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อเป็นภาพรวมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความชัดเจนมากขึ้นสำหรับสถานศึกษาทุกแห่ง
ใช้เป็นกรอบทิศทางในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
ที่หลักสูตรแกนกลางได้กำหนดไว้

การกำหนดหลักการของหลักสูตร...
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
กำหนดหลักการของหลักสูตร ดังนี้
1) เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่ความเป็นสากล
2) เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาพ

และเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
4) เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้
5) เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ปรับปรุงหลักการของหลักสูตร เพื่อให้มีความชัดเจน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยปรับจากเดิม 5 ข้อ เป็น 6 ข้อ ดังนี้
1) เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเยาวชน

ให้มีความรู้และคุณธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทย ควบคู่กับความเป็นสากล
2) เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค

และมีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
3) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่ตอบสนองการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ให้สอดคล้องกับสภาพ และ ความต้องการของท้องถิ่น
4) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลา และการจัดการเรียนรู้
5) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด

6) เป็นหลักสูตรการศึกษาที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถ
เทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

การกำหนดจุดหมายของหลักสูตร...
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
กำหนดจุดหมายของหลักสูตร ดังนี้
1) เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
2) มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียน และรักการค้นคว้า
3) มีความรู้อันสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ

มีทักษะและศักยภาพในการจัดการการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคิด
วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์
4) มีทักษะและกระบวนการโดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด

การสร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต
5) รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี

6) มีประสิทธิภาพในการผลิต และการบริโภคมีค่านิยมเป็นผู้ผลติมากกว่าเป็นผู้บริโภค
7) เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดียึดมั่น

ในวิถีชีวิตและการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
8) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย

ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
9) รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ปรับจุดหมายของหลักสูตร เพื่อให้มีความชัดเจน สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยจากจุดหมาย 9 ข้อ เป็น 5 ข้อ ดังนี้
1) มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของตนเอง

มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ
2) มีความรู้อันเป็นสากล มีทักษะในการจัดการ ทักษะกระบวนการคิด ทักษะในการดำเนินชีวิต

ทักษะในการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี
3) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และ รักการออกกำลังกาย
4) มีจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองไทย และพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5) มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์ และสร้างสิ่งที่ดีงามและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

โครงสร้างหลักสูตร...
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
โครงสร้างหลักสูตรกำหนดเป็น 4 ช่วงชั้น ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6


กำหนดเวลาเรียนของ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นเวลารวมไว้เป็นช่วงกว้างๆ ในแต่ละช่วงชั้น เช่น

ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-3)
กำหนดเวลาเรียนทั้ง 8 กลุ่ม ปีละประมาณ 800-1000 ชั่วโมง โดยให้สถานศึกษากำหนดเวลาเรียน

ของแต่ละกลุ่มสาระเองตามความเหมาะสม

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
โครงสร้างหลักสูตรกำหนดเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1) ระดับประถมศึกษา (ป.1-6)
2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3)

3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)

กำหนดเวลาเรียนขั้นต่ำของ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ล่ะชั้นปี และให้สถานศึกษาเพิ่มเติม

ได้ตามความพร้อมและจุดเน้น เช่นกำหนดเวลาเรียนกลุ่มสารการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น ป.1 จำนวน 200 ชั่วโมง

การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้...
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544
กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ / มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
1. กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ 76 มาตรฐาน

2. กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นโดยกำหนดไว้เป็นช่วงๆ ละ 3 ปี ซึ่งเป็นคุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบชั้น ป.3
ซึ่งเป็นคุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบชั้น ป. 3 ป.6 ม.3 ม.6 และให้สถานศึกษานำไปเป็นกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระในแต่ล่ะชั้นปีเอง ซึ่งทำให้ขาดเอกภาพ
และมีปัญหาใน การเทียบโอนผลการเรียนรู้

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
ปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้และกำหนดตัวชี้วัดชั้นปี / ช่วงชั้น
1. ปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้ให้มีความชัดเจน ลดความซ้ำซ้อน โดยปรับปรุงจาก 76 มาตรฐาน

ลดลงเหลือ 67 มาตรฐาน
2. กำหนดตัวชีวิดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1- ม.3) และตัวชี้วัดช่วงชั้นสำหรับ

มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4-6 ) เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลมีเป้าหมาย
ที่ชัดเจนในแต่ละระดับชั้นรวมทั้งครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้เลย
ซึ่งเป็นการช่วยลดภาระของครู

การกำหนดกิจกรรม...
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544
กำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. กิจกรรมแนะแนว
2. กิจกรรมนักเรียน

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
ปรับปรุงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยเพิ่มกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ที่มุ่งเน้น
ให้ผู้เรียนทุกคนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม
ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กำหนด คือ การมีจิตสาธารณะ
อันจะช่วยให้สังคมเกิดสันติสุข อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ดังนั้น ในหลักสูตรแกนกลางฯ จึงได้กำหนดกิจกรรมผู้เรียน เป็น 3 ลักษณะดังนี้
1) กิจกรรมแนะแนว
2) กิจกรรมนักเรียน
3) กิจกรรมเพื่อนสังคมและสาธารณประโยชน์


การวัดผลประเมินผลและการจบหลักสูตร...
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544
การวัดและประเมินผล และการจบหลักสูตร
1. หลักสูตรกำหลดให้สถานศึกษากำหนดเกณฑ์การจบหลักสูตรเอง รวมทั้งจัดทำแนวทาง

การวัดและประเมินผลตามเกณฑ์ ที่สถานศึกษากำหนด
2. การตัดสินผลการเรียน

- ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ตัดสินผลการเรียนเป็นรายปี
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
การวัดและประเมินผล และการจบหลักสูตร
1. หลักสูตรแกนกลางฯ กำหนดเกณฑ์กลางการจบหลักสูตร การตัดสินผลการเรียน

การให้ระดับผลการเรียน การรายงานผลการเรียน และเอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงควบคุม
เพื่อให้สถานศึกษาจัดทำแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนที่สอดคล้องกับ
หลักเกณฑ์ที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด
2. การตัดสินผลการเรียน
- ระดับประถมศึกษา ตัดสินผลการเรียนเป็นรายปี

- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ ตอนปลาย ตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น